ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้การเก็บ รวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปตามกฎหมาย บริษัทฯ ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ดังนั้นจึงได้กำหนดนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Private Policy) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ขอบเขตการใช้งาน

บริษัทฯ เคารพสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล ดังนั้น ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ ได้มา จะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยบริษัทฯ มีมาตรการในการเก็บรักษาข้อมูล และป้องกันมิให้นำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

  1. คำนิยาม
    • บริษัทฯ หมายถึง บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
    • ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุ ตัวตนของบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม เช่น ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่ เลขบัญชีธนาคาร ที่อยู่อีเมล (Email address) ทะเบียนรถยนต์ IP Address อย่างไรก็ดี ข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ข้อมูลสำหรับติดต่อทางธุรกิจที่ไม่ได้ระบุตัวบุคคล เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่บริษัท เลขทะเบียนนิติบุคคลของบริษัท หมายเลขโทรศัพท์ของที่ทำงาน ที่อยู่อีเมลล์ (Email address) ที่ใช้ในการทำงานเป็นต้น

ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (Sensitive Data) หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใด ซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกัน ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่รวมถึงนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น บริษัท สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรอื่นใด
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
  1. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ จะขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน หรือขณะทำการเก็บรวบรวมข้อมูล หากกฎหมายกำหนดให้ต้องขอความยินยอม และจะดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทฯ ระบุไว้เท่านั้น ทั้งนี้บริษัทฯ อาจรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับมาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่จากเจ้าของข้อมูลโดยตรง เช่น จากสื่อสาธารณต่างๆ เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นด้วยวิธีตามที่กฎหมายกำหนด

  1. ด้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Processing)
    • บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นธรรม โปร่งใส และคำนึงความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ การกำหนดขอบเขตวัตถุประสงค์การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้ทำได้เท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท อีกทั้งบริษัทจะดำเนินการรักษาความลับ ความถูกต้องสมบูรณ์ และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ
    • บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการและการควบคุมเพื่อบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในทุกขั้นตอนให้สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
    • บริษัทจะจัดทำและรักษาบันทึกการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Records of Processing : RoP) สำหรับบันทึกรายการและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับกฎหมาย รวมทั้งจะปรับปรุงบันทึกการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
    • บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการแจ้งวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวมและรายละเอียดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notices) และการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสอดคล้องกับกฎหมาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการดูแลและตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว
    • บริษัทจะจัดให้มีกลไกการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งจัดให้มีกลไกการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
    • ในกรณีที่บริษัทส่ง โอน หรือให้บุคคลอื่นใช้ข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะจัดทำข้อตกลงกับผู้ที่รับหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
    • ในกรณีที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ บริษัทจะปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย
    • บริษัทจะทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อครบกำหนดระยะเวลา โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท
    • บริษัทจะประเมินความเสี่ยงและจัดทำมาตรการเพื่อบรรเทาความเสี่ยง และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคค
  1. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Right)

บริษัทจะจัดให้มีมาตรการ ช่องทาง และวิธีการเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้สิทธิของตนได้ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งจะดำเนินการบันทึก และประเมินผลการตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

  1. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Security)

บริษัทจะจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ รวมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลและการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

  1. การทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Compliance)
    • บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการติดตามในกรณีที่กฎหมายเปลี่ยนแปลงไป และปรับปรุงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกฎหมายอยู่เสมอ
    • บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงนโยบาย (Policy) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) แนวปฏิบัติ (Guidelines) ขั้นตอนการปฏิบัติ (Procedures) และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำ เพื่อให้ทันสมัยสอดคล้องกับกฎหมายและสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา
  2. การปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและช่องทางการติดต่อกับบริษัทฯ

ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือการปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ สามารถติดต่อโดยตรงที่ผู้จัดการฝ่ายบุคคลและธุรการของบริษัทฯ เบอร์โทร 02-5330277 เบอร์ต่อภายใน 123 หรืออีเมล์ info@bcm.co.th

ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2565จึงประกาศมเพื่อทราบโดยทั่วกัน

(นายโยชิยูกิ  ชิคาโนะ)

ประธานบริษัทฯ